Review ทริปเยือนเมืองหลวงใหม่ VS เก่าอินโดนีเซีย Jakarta & Yogyakarta Part 4

เช้าวันที่สองในเมืองยอร์คยาการ์ต้า ผมเริ่มต้นด้วยอาหารบุฟเฟย์ในโรงแรมซึ่งก็มีอาหารตามมาตรฐานในโรงแรมระดับ 3-4 ดาว รสชาติก็ดีครับ 

หลังจากอิ่มแล้ว ผมก็ออกไปหาคนขับรุแท็กซี่ที่เหมาไว้แล้วไปยังจุดหมายแรกของวันนี้

พระราชวังเมืองยอคยาการ์ต้า (KRATON YOGYAKARTA)

เป็นพระราชวังของสุลต่านแห่งยอร์คยาการร์ต้า ที่ปัจจุบันยังมีการสืบทอดตำแหน่งนี้อยู่ แม้จะไม่มีอำนาจใดๆในทางการบริหาร แต่ถือเป็นผู้นทางวัฒนธรรมและศูนย์รวมจิตใจของคนพื้นเมือง

พระราชวังแห่งนี้สามารถเรียกได้ทั้ง กราตอน (Kraton) หรือ เกอราตอน (Keraton) พระราชวังถูกสร้างขึ้นโดยหันหน้าไปทางทิศเหนือตรงกับภูเขาไฟเมอราปี และด้านหลังของพระราชวังตรงกับมหาสมุทรอินเดีย สร้างเสร็จในปี 1790

พระราชวังแห่งนี้นอกจากเป็นที่พำนักของสุลต่านแล้ว ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับศึกษาประวัติศาสตร์และประเพณี และสำหรับประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ

ในพระราชวังจึงยังมีข้าราชบริพารที่มาทำงานที่นี่โดยสมัครใจ และจะแต่งกายแบบชาววังโบราณทำให้เวลาเดินอยู่ด้านในจะเสมือนย้อนกลับไปวันเก่า  

พระราชวังแห่งนี้มีทั้งสิ่งของ ภาพวาด เครื่องใช้ของสุลต่านอยู่เป็นจำนวนมาก เดินชมกันเพลินๆเลย

หลังจากชมความสวยงามของพระราชวัง ผมก็ไปเดินตลาดเพื่อ shopping และหามื้อเที่ยงง่ายๆทานกันด้วย

Pasar Beringharjo Market

เป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในย่าน Kraton ในเมืองยอร์คยาการ์ต้า เปิดขายสินค้ามาตั้งแต่ปี 1758 

ก่อนถึงตลาดก็มีร้านค้าที่ขายของริมทาง และร้านอาหาร ร้านขนมแปลกตามากมาย 

บางอย่างก็คุ้นตาเหมือนบ้านเรา บางอยากก็แปลกตาไปบ้าง

เห็นทุเรียนน่ากิน เป็นเมนูใส่น้ำกะทิ แต่น้ำกะทิใสมาก ไม่อร่อยเลย 55

ด้านในตลาดมีทั้งเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ข้าวของเครื่องใช้มากมาย ราคาไม่แพงครับ

มื้อเที่ยงขอกินอะไรง่ายๆ เป็นหมูสเต๊ะ กับ ข้าวเหนียวแบบอินโด

ติดกันกับตลาด Pasar Beringharjo มี Museum ใกล้ๆ เลยลองเดินเข้าไปดูครับ

Fort Vredeburg Museum

พิพิธภัณฑ์ Fort Vredeburg Museum เคยเป็นป้อมปราการของดัชต์ในช่วงอาณานิคมที่ตั้งอยู่ในเมืองยอคยาการ์ตา ก่อนจะถูกเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินโดนีเซียซึ่งเปิดขึ้นในปี 2535 

ในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้มีพื้นที่กว้างขวางนัก ส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่มาของการต่อสู้เพื่อเอกสารของอินโดนีเซีย ทั้งเรื่องราวของบุคคล และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆกว่าที่อินโดนีเซียจะได้มาซึ่งเอกราช

กว่าจะ shopping และเดินดูพิพิธภัณฑ์เสร็จก็ปาไปช่วงบ่ายๆ แล้ว พวกผมจึงรีบไปสถานที่สุดท้ายของวันนี้เพื่อไปชมวิวพระอาทิตย์ตกในพระราชวังโบราณบนยอดเขาสูงที่มีความสวยงามแบบวิวร้อยล้าน

พระราชวัง Ratu Boko

พระราชวังราตู โบโก เป็นพระราชวังโบราณคดีที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูง ครอบคลุมพื้นที่ถึง 160,000ตารางเมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่8 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนยาที่นับถือพุทธศาสนา ก่อนจะถูกยึดครองต่อมาโดยราชวงศ์มาตารามที่นับถือศาสนาฮินดู

พระราชวังแห่งนี้จึงมีศิลปะแบบทั้งพุทธและฮินดูผสมผสานกัน

แหล่งโบราณคดีราตู โบโก อยู่บนเขาสูง อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 16 กิโลเมตร นอกจากจะต้องนั่งรถขึ้นไปบนเขาแล้ว ยังต้องเดินขึ้นบันไดอีกหลายขั้นเลย 

แต่เมื่อขึ้นไปถึงข้างบนแล้วจะคุ้มค่ามาก เพราะจากด้านบนจะวิวรอบๆได้ไกลมาก เห็นแม้กระทั่งปรามบานันที่อยู่ห่างไปถึง 3 กม ซึ่งผมจะไปชมวันพรุ่งนี้

ก่อนถึงตัวปราสาทจะมีลานหญ้าที่เลี้ยงแกะได้ด้วย

เมื่อก้าวสู่ตัวพระราชวัง คุณจะเห็นประตูขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสองชั้น ที่น่าจะสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือที่สมบูรณ์ที่สุดของที่นี่

ซากปรักหักพังของพระราชวังที่นี่ยังคงมีหลักฐานของกำแพงป้องกันและคูน้ำที่แห้งแล้ว สระน้ำ เมรุเผาศพ และโถงสำหรับผู้ชม นอกจากนี้ ยังมีวิหารจำลองและเขตพื้นที่ที่มีกำแพงล้อมรอบซึ่งเรียกว่าWomen’s Quarter

กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้ทำให้พระราชวังราตู โบโก มีความโดดเด่นแตกต่างจากแหล่งโบราณคดีต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเนื่องจากสิ่งก่อสร้างที่นี่สร้างเป็นเพื่อใช้ประโยชน์ให้กับมนุษย์ ไม่ได้แค่เพื่อสักการะเทพเจ้าเหมือนที่อื่น

 ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะนิยมมาเที่ยวที่นี่ตอนบ่ายแก่ๆ เพื่อชมพระอาทิตย์ขณะลับขอบฟ้าลงเบื้องหลังซากปรักหักพังซึ่งให้ภาพที่สวยงามมากๆ

 พระราชวังราตู โบโกเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 6.00 – 18.00 น. แต่ผมแนะนำให้เช็คเวลาเปิดปิดที่แน่นอนอีกครั้งเนื่องจากมีเปิดปิดในช่วงนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง

จดหมายฉบับหน้าผมจะมาเล่าต่อถึงการท่องเที่ยวในยอคจาการ์ต้าเป็นสุดท้ายกับอีกศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่มากๆ ไม่แพ้บุโรพุทโธอีกแห่งนั่นคือ ปรามบานันครับ

อยากให้คุณไปอยู่ตรงนั้นด้วยกัน

รักและคิดถึง

mgastronome

Fanpage : M Eat and Travel

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s